TCAS Starter

รวมข้อมูลการสอบ TCAS รอบ 1-4, อัพเดตข่าวและระเบียบการล่าสุดทุกมหาวิทยาลัย และหลักสูตร, ข้อมูลรอบ Portfolio, กสพท.

TCAS คือ

TCAS คือ ระบบการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่เปิดรับทุกวุฒิทั้ง ม.6 สายอาชีพ เทียบเท่า และเทียบวุฒิ GED ย่อมาจาก Thai University Central Admission System ปัจจุบัน TCAS66 ยังมีรูปแบบคล้ายกับ TCAS65 แต่จะปรับเปลี่ยนในตัวของข้อสอบ จากเดิมมีการใช้วิชา GAT/PAT และวิชาสามัญ มาเป็น TGAT/TPAT และ A-Level ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะเป็นองค์ประกอบหลักของการคัดเลือกในระบบนี้ สำหรับ TCAS66 แบ่งการรับออกเป็น 4 รอบ ดังนี้

  • รอบที่ 1 รอบ Portfolio (ใช้แฟ้มสะสมผลงาน)
  • รอบที่ 2 รอบ Quota (รอบโควตา)
  • รอบที่ 3 รอบ Admission (รอบแอดมิชชั่น)
  • รอบที่ 4 รอบ Direct Admission (รอบรับตรงอิสระ)

TCAS แต่ละรอบมีจุดเด่นและรายละเอียดการรับสมัครที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลแต่ละรอบอย่างละเอียด


สรุปข้อมูล TCAS66 อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อมูลรอบ 66

เกี่ยวกับรอบรอบ Portfolio เป็นการรับนักเรียน โดยเน้นคุณสมบัติของผู้สมัคร และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), เกรดเฉลี่ย (GPAX) หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆ แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย จะกำหนดลักษณะหรือรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงานที่แตกต่างกัน เช่น จำนวนหน้า, จำนวนผลงาน, ระดับการแข่งขันของผลงาน ไปจนถึงการเขียนเรียงความ อย่างไรก็ตามใน TCAS66 อาจมีบางแห่งนำคะแนนสอบส่วนกลางมาใช้ด้วย

ใช้เกรดกี่เทอม ?4 - 5 เทอม

องค์ประกอบ/คะแนนที่ใช้คัดเลือกPortfolio, GPAX, GPA, คะแนนทดสอบทางภาษา, ความสามารถพิเศษ, สอบสัมภาษณ์

เกี่ยวกับรอบรอบโควตา เน้นการรับสมัครนักเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น กลุ่มนักเรียนในเขตพื้นที่ กลุ่มนักเรียนในโควตาโรงเรียน กลุ่มนักเรียนในภูมิภาค หรือ กลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ จะใช้คะแนนสอบส่วนกลางที่ ทปอ. เป็นผู้จัดสอบ หรือ มหาวิทยาลัยจัดสอบวิชาเฉพาะของตนเอง รวมถึงอาจมีการใช้ GPAX และ GPA 6 เทอม

ใช้เกรดกี่เทอม ?6 เทอม

องค์ประกอบ/คะแนนที่ใช้คัดเลือกGPAX, GPA, TGAT/TPAT, A-Level, วิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัย, ความสามารถพิเศษ, สอบสัมภาษณ์, คะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ

เกี่ยวกับรอบรอบ Admission คือ รอบที่มหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ทั่วประเทศ รวมทั้ง กสพท จะเปิดรับสมัครพร้อมกันผ่านระบบส่วนกลาง ทปอ. โดยก่อนรับสมัคร จะประกาศเกณฑ์คัดเลือกออกมาล่วงหน้าเพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวและเตรียมคะแนนเพื่อใช้ยื่นในคณะนั้นๆ

ซึ่งในปัจจุบัน เกณฑ์ในรอบ Admission จะไม่ใช่เกณฑ์ที่ประกาศจากส่วนกลาง เพราะมีการยกเลิก O-NET และเปลี่ยนวิชาสอบใหม่เป็น TGAT/TPAT และ A-Level คณะต่างๆ จึงกำหนดเกณฑ์เองเพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่คณะต้องการ ดังนั้นสาขาเดียวกัน แต่ต่างมหาวิทยาลัยก็อาจจะใช้เกณฑ์ไม่เหมือนกัน

แต่สิ่งที่ยังคงไว้คือ รูปแบบของการเลือกคณะที่สามารถเลือกได้สูงสุด 10 อันดับ (แบบเรียงอันดับ) โดยสามารถเลือก กสพท รวมกับคณะอื่นๆ ได้ด้วย ค่าใช้จ่ายคิดตามจำนวนอันดับที่สมัคร สูงสุด 10 อันดับ 900 บาท

รอบ Admission จะมีการประมวลผล 2 ครั้งเพื่อเพิ่มโอกาสการสอบติด โดยหลังจากประกาศผลครั้งที่ 1 แล้ว หากผู้สมัครไม่ผ่านการคัดเลือกหรือไม่พอใจกับอันดับที่ผ่านการคัดเลือก สามารถยื่นขอประมวลผลครั้งที่ 2 ได้ โดยใช้ข้อมูลการสมัครเดิม หากอันดับนั้นๆ มีผู้สละสิทธิ์ ก็มีโอกาสได้รับการประมวลผลครั้งที่ 2 และสอบติดในอันดับที่สูงขึ้นได้ ซึ่งการประมวลผลครั้งที่ 2 นี้ จะไม่มีทางที่ได้ในอันดับที่แย่ลงกว่าเดิม

และอีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงในรอบ Admission TCAS66 คือ สามารถสละสิทธิ์หลังยืนยันสิทธิ์ในรอบ Admission เพื่อไปรอบ 4 ได้ แต่จะต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยสละสิทธิ์มาก่อนเท่านั้น

ใช้เกรดกี่เทอม ?6 เทอม

องค์ประกอบ/คะแนนที่ใช้คัดเลือกGPAX/GPA,TGAT/TPAT, A-Level, วิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัย

เกี่ยวกับรอบรอบ 4 Direct Admission หรือ รับตรงอิสระ เป็นรอบที่มหาวิทยาลัยเปิดรับเองหลังจากประกาศผลการคัดเลือกในรอบ Admission แล้ว ซึ่งเกณฑ์คัดเลือก อาจเหมือนหรือแตกต่างจากรอบก่อนๆ ก็ได้ เน้นรับกลุ่มนักเรียนที่ยังไม่ผ่านการคัดเลือกรอบต่างๆ หรือ นักเรียนที่สละสิทธิ์เพื่อมารอรอบถัดไป

ในทุกๆ ต้นปีการศึกษา มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งจะยังไม่กำหนดจำนวนที่นั่งในรอบนี้ จนกว่าจะรู้จำนวนที่นั่งที่ยังว่างอยู่จึงเปิดรับเพิ่มในรอบสุดท้าย ดังนั้นจึงเป็นรอบที่ไม่สามารถกำหนดได้ว่าในแต่ละปีจะมีคณะไหนเปิดรับบ้าง

รอบรับตรงอิสระ จะต้องมีการยืนยันสิทธิ์เพื่อเลือกเข้าศึกษาเพียง 1 แห่งในระบบ myTCAS เหมือนรอบอื่นๆ

ใช้เกรดกี่เทอม ?6 เทอม

องค์ประกอบ/คะแนนที่ใช้คัดเลือกGPAX, GPA, TGAT/TPAT, A-Level, วิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัย, Portfolio, สอบสัมภาษณ์

กำหนดการ

รับสมัคร

มหาวิทยาลัยกำหนด

ไปเว็บ myTCAS

ประกาศผล

7 ก.พ. 2566

ยืนยันสิทธิ์ในระบบ

7 - 8 ก.พ. 2566

สละสิทธิ์ในระบบ

9 ก.พ. หรือ 6 พ.ค. 66

รับสมัคร

มหาวิทยาลัยกำหนด

ไปเว็บ myTCAS

ประกาศผล

4 พ.ค. 2566

ยืนยันสิทธิ์

4 - 5 พ.ค. 2566

สละสิทธิ์

6 พ.ค. 2566

รับสมัคร

7 - 13 พ.ค. 2566

สมัครในระบบ myTCAS

ประกาศผล

20 พ.ค. 2566
26 พ.ค. 2566

ยืนยันสิทธิ์

20 - 21 พ.ค. 2566

สละสิทธิ์

27 พ.ค. 2566

รับสมัคร

มหาวิทยาลัยกำหนด

ประกาศผล

13 มิ.ย. 2566
23 มิ.ย. 2566

ยืนยันสิทธิ์

13 - 14 มิ.ย. 2566
23 - 24 มิ.ย. 2566

สละสิทธิ์

ไม่อนุญาตให้สละสิทธิ์ หากไม่ต้องการเข้าศึกษา ไม่ต้องยืนยันสิทธิ์

นับถอยหลังวันสำคัญ

ทุกเรื่องเกี่ยวกับ TCAS

ดูทั้งหมด

คำค้นหาติดอันดับตามหมวด

ค้นหาระเบียบการ TCAS

คำถามที่พบบ่อย

  • TCAS66 มีอะไรเปลี่ยนไปจาก TCAS65 บ้าง

    • ปรับเปลี่ยนวิชาสอบที่จัดสอบโดย ทปอ. จาก GAT/PAT เป็น TGAT/TPAT และ วิชาสามัญเป็น A-Level ทำให้หลายๆ คณะมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์รับสมัครในปีนี้
    • การสอบ TGAT/TPAT มีการนำรูปแบบการสอบด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เป็นปีแรก
    • รอบ Portfolio และ Quota สามารถนำคะแนน TGAT/TPAT มาใช้ได้ ต่างจากปีก่อนที่รอบนี้จะไม่นำคะแนนส่วนกลางมาใช้
    • เพิ่มการสละสิทธิ์ในรอบ 3 Admission จากเดิมที่จะมีการสละสิทธิ์เพียง 2 ครั้ง คือ หลังยืนยันสิทธิ์รอบ Portfolio และรอบ Quota แต่ปีนี้เพิ่มการสละสิทธิ์ในรอบ Admission เข้ามาด้วย แต่จะต้องเป็นผู้ที่ยืนยันสิทธิ์รอบแอดมิชชั่นเท่านั้นที่สามารถสละสิทธิ์ได้ (ติดรอบโควตา จะสละสิทธิ์ช่วงนี้เพื่อไปรอบ 4 ไม่ได้)
    • เพิ่มกฎการสละสิทธิ์ในกลุ่มคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ หากมีการยืนยันสิทธิ์แล้ว จะไม่สามารถสมัครหลักสูตรเดิมในรอบอื่นๆ ได้อีก แม้ว่าจะสละสิทธิ์ภายหลัง

  • เด็กซิ่วยังสามารถสมัครใน TCAS66 ได้หรือไม่

    สมัครได้ ในปีนี้ จากที่ตรวจสอบหลายๆ มหาวิทยาลัยพบว่า เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบใน TCAS66 แต่รายละเอียดอาจระบุเจาะจงเป็นรายโครงการ เช่น บางโควตาอาจสมัครได้แค่ ม.6 เท่านั้น วิธีการสังเกตว่าเด็กซิ่วสมัครได้หรือไม่ ให้ดูที่คุณสมบัติของผู้สมัคร หากกำหนดว่า สามารถสมัครได้ทั้ง ม.6 และผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หมายความว่าเด็กซิ่วสมัครได้ สำหรับอายุคะแนนสอบก็มีการเปลี่ยนแปลง โดยตอนนี้ ทั้ง TGAT/TPAT, A-Level และคะแนนวิชาเฉพาะ กสพท นั้น จะมีอายุเพียง 1 ปี หากต้องการสอบเข้า TCAS ในปีอื่นๆ ก็จะต้องสมัครใหม่ปีต่อปี

  • ลืมรหัสผ่านเข้าระบบ myTCAS

    1. ที่เว็บไซต์ student.mytcas.com ให้กดเมนู ลืมรหัสผ่าน
    2. กรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือ เลข G หรือ เลขหนังสือเดินทาง ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว
    3. กรอก อีเมส หรือ เบอร์โทร อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
      • ถ้ากรอก อีเมล ระบบจะส่งลิงค์ไปที่อิเมล
      • ถ้ากรอก เบอร์โทรศัพท์ ระบบจะส่งข้อความไปที่เบอร์โทรศัพท์
      • แต่ถ้ากรอกทั้ง อีเมล และ เบอร์โทรศัพท์ ระบบจะไม่ส่งอะไรไปทั้งสิ้น
    4. กดลิงค์ในอีเมล หรือ ข้อความที่ได้รับในมือถือ เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่
    5. รหัสผ่าน ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ที่ประกอบด้วย อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ อักษรตัวพิมพ์เล็ก และ ตัวเลข อย่างน้อยอย่างละ 1 ตัว
  • การประมวลผล 2 ครั้งในรอบแอดมิชชั่น คืออะไร

    ตั้งแต่ TCAS64 เป็นต้นมา รอบ Admission จะมีระบบประมวลผล 2 ครั้งเพื่อช่วยให้นักเรียนมีโอกาสสอบติดมากขึ้น โดยหลักการคือ หลังจากที่ ทปอ.ประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 1 แล้ว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบ Admission ในอันดับที่ 2 - 10 หรือไม่ผ่านการคัดเลือกเลย จะมีโอกาสขอประมวลผลใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งการประมวลผลครั้งที่ 2 จะเป็นสาขาวิชาและอันดับเดิมที่สมัครไปตั้งแต่แรก แต่สามารถเลือกได้ว่า จะขอประมวลผลในสาขาวิชาใด อันดับใดบ้าง หากสาขาใดมีที่นั่งว่าง จึงจะมีการประมวลผลใหม่ในอันดับนั้น ซึ่งทำให้คนที่ขอประมวลผลใหม่ในอันดับนั้นมีโอกาสสอบติดเข้าไปแทนที่ คล้ายๆ กับการเรียกตัวสำรองขึ้นมา

  • กฎสละสิทธิ์ครั้งเดียว คืออะไร?

    ในระบบ TCAS ทุกคนจะสามารถสละสิทธิ์ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งการสละสิทธิ์ในที่นี้คือ การยกเลิกการยืนยันสิทธิ์ในระบบ TCAS หากได้ทำการสละสิทธิ์ไปแล้ว เมื่อสอบติดและยืนยันสิทธิ์ในรอบถัดไป จะไม่สามารถสละสิทธิ์ได้อีก

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สอบติดแต่ไม่ต้องการเรียนในคณะนั้นๆ สามารถเข้าไปกด ไม่ใช้สิทธิ์ หรือ ไม่ต้องเข้าไปทำรายการใดๆ ในระบบ myTCAS ก็จะถือว่าผู้สมัครไม่ประสงค์เรียนในคณะนั้นๆ ผลการสอบจะเป็นโมฆะทันที และจะไม่เสียสิทธิ์การสละสิทธิ์

  • ข้อสอบ TGAT เหมือนกับข้อสอบ GAT หรือไม่

    ไม่เหมือนกัน เดิมข้อสอบ GAT เป็นการวัดความถนัดทั่วไป จะมี 2 พาร์ท คือ พาร์ทภาษาไทยหรือเชื่อมโยง และพาร์ทภาษาอังกฤษ

    แต่ข้อสอบ TGAT ปัจจุบัน เป็นข้อสอบที่ไม่เน้นความรู้เชิงวิชาการ จะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ, การคิดอย่างมีเหตุผล และมรรถนะการทำงาน โดยแยกคะแนนพาร์ทละ 100 คะแนน มหาวิทยาลัยสามารถนำคะแนนทั้ง 3 พาร์ทเต็มฉบับไปใช้ หรือ เลือกใช้พาร์ทใดพาร์ทหนึ่งก็ได้เช่นกัน